เท่าเทียม

"แต่อย่างน้อย...เขาเป็นผู้ใหญ่กว่า"

ความจริงการเคารพต่อผู้อาวุโสนั้นมีมานานนม เป็นธรรมเนียมของชาวตะวันออกมาช้านาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและคนไทยด้วย เราถือการไหว้เป็นการเคารพ คารวะของผู้มีอายุน้อยต่อผู้มีอายุมากกว่า ส่วนในระบบการทำงานทั้งเอกชนและราชการ ผู้ที่มียศตำแหน่งต่ำกว่าก็เคารพต่อผู้มียศตำแหน่งสูงกว่า

ขณะที่ฝรั่งใช้วิธีจับมือกัน เป็นการติดต่อสื่อสารและเคารพกันแบบ flat network คือ ความเท่าเทียมกัน ด้วยแนวคิดแบบเสรีนิยมและเน้นในเรื่องความเสมอภาค

จากการที่ผมเคยทำงานทั้งในและนอกประเทศมา ผมพบว่า flat network มีข้อดีคือ ไม่ต้องลังเลว่าใครมีอายุมากกว่าใคร หรือใครยศตำแหน่งสูงกว่าใคร และคิดว่าใครควรไหว้ใครก่อน

ทั้ง 2 ระบบมีข้อดีและเสียต่างกัน และต่างก็ต้องรักษา balance ของระบบให้ดี การยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่งจะทำให้ไม่ flexible การถืออายุเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ในการเคารพ ตัดสิน หรือแสดงเหตุผล จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และไม่มีประสิทธิภาพ

เมื่อผมไปเริ่มทำงานที่ Venice, CA มี designers จากหลากหลายชาติ เข้ามาจับมือ และทักทายผมโดยไม่ต้องมีคนแนะนำ เป็นบรรยากาศที่ทำให้ผมรู้สึกดีต่อองค์กร และรู้สึกว่าองค์กรนี้น่าทำงาน น่าอยู่ (เขารู้จักผมในการประชุมและมีการแนะนำตัวว่าผมเป็นคนที่เข้ามาทำงานใหม่)

หมดสมัยแล้วสำหรับการเคารพกันที่อายุ หรือ ความอาวุโส อิทธิพลจากโลกตะวันตกส่งผลให้ความเคารพ หวาดกลัว หรือยำเกรง ต่อผู้มีอายุมากกว่าลดลง มีความคิด และการกระทำของผู้ใหญ่มากมายที่ผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง และไม่คล้อยตาม ผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป เด็กไม่จำเป็นต้องเชื่อผู้ใหญ่ทุกเรื่อง เพราะผู้ใหญ่ที่อายุ 40 กับผู้ใหญ่วัย 60 นั้นก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

ความจริง...ความคิด...การให้เกียรติกันและกัน มากกว่าที่น่าเคารพ ผมเชื่ออย่างนั้น

ไม่ใช่ว่าอายุมากกว่า ก็ถูกไปหมด เด็กไม่ควรแย้ง หรือขัดผู้ใหญ่ (ทั้งๆที่เห็นกันอยู่ว่า ผู้ใหญ่กำลังไร้สติและมารยาทที่ดี ไร้การให้เกียรติกันและกัน)

สมัยผมเรียนอยู่ที่ USA ผมพบว่า ทุกคนที่นั่นเทียบเท่ากันไม่เกี่ยวอายุ วัย และเพศ ทุกๆคนมาทำหน้าที่ของตน มาสอน มาเรียน มาแลกเปลี่ยนทัศนะคติและความรู้ ทุกคนมีเสรีในการวิจารณ์ แสดงความเห็นได้เต็มที่ ในขณะที่ทุกคนก็พร้อมจะเปิดใจรับฟัง แม้มันจะไม่ใช่ภาพรวมของสังคมอเมริกันทั้งหมด แต่ข้อดีจุดนี้ เป็นจุดที่ผมประทับใจ และคิดถึงทุกครั้งที่เห็นและพบเจอผู้ใหญ่ที่ไม่น่าเคารพ ผู้ใหญ่ประเภทที่ต้องหลีกหนีให้ไกล

เปล่า ! ผมไม่ได้บอกให้ก้าวร้าว หรือปีนเกลียว
วันนี้...ผู้ใหญ่อย่างผมยังรู้สึกว่าเด็กควรมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส ไม่ใช่เพราะวัย แต่เป็นเพราะการให้เกียรติผู้อาวุโสในฐานะมนุษย์ผู้ควรค่าแก่การเคารพ ซึ่งต้องหมายถึงผู้ใหญ่ที่น่าเคารพจริงๆเท่านั้น

ครู ที่ตั้งใจสอน ก็ควรได้รับการเคารพอย่างเต็มที่
พ่อ แม่ ที่ดีก็ควรได้รับการ กตัญญู รู้คุณ
ผู้ใหญ่ที่มีเหตุผล มีสติ ก็ควรได้รับความเคารพ และเกรงใจ

สังคม ควรจะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน อย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน แต่ยังคงเคารพกันและกัน

3 Response to "เท่าเทียม"

gravatar
dogdoy Says:

เห็นด้วยอย่างมากครับ ผมชอบฝรั่งก็ตรงนี้แหละครับ
จะแก่จะเด็ก เรียกกันแต่ชื่อ คือมาแรกๆก็งงนะครับ ลูกเรียกชื่อเล่นพ่อไรงี้(ยังกะเพื่อน) บ้านเรานี่คงถูกดุแน่

ผมว่าการที่เราเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าเป็นสิ่งที่ดี(ถ้าเค้าทำตัวให้น่าเคารพ) แต่การตัดสินเรื่องอะไรต่างๆไม่ควรเอาวัยมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์ จะร่ำรวยหรือยากจน จะเรียนสูงเรียนน้อย ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายเหมือนกัน เราต่างอยู่ใต้กฏของธรรมชาติทั้งนั้น เราทำผิดพลาดได้ตลอดเวลาเหมือนๆกัน
ในความเป็นจริงแล้วเราไม่ได้ต่างกันเลย

gravatar
Anonymous Says:

เห็นด้วยอีกคน
ชอบอันนี้
...การให้เกียรติกันและกัน มากกว่าที่น่าเคารพ

gravatar
Anonymous Says:

เห็นด้วยอย่างแรง ๆ สามตลบ
ว่าการที่เคารพกัน อันที่จริงแล้ว อายุมันไม่ค่อยจำเป็นในการเอามาเป็นหลักที่เราจะแสดงความเคารพกันมากนัก

แต่นิ้งว่า ความคิด หรือการกระทำแบบที่พี่วุดบอกนั่นแหละ
เป็นสิ่งที่น่าเอามาเป็นตัวตัดสินใจในการให้ความเคารพมากกว่า :)