Disc jockey
0
comments |
This entry was posted on August 16, 2012
สมัยก่อนผมเป็นคนชอบฟังวิทยุ
โดยเฉพาะเวลานั่งเขียนแบบ, ตัด section, วาด perspective
ทำ project ส่งงานที่คณะ . . .
ด้วยความที่วิทยุนั้น มีคนคอยเปิดเพลงและพูดคุยให้เราฟังไปตลอด
ซึ่งความรู้สึกจะแตกต่างจากการฟังเพลงด้วยการเปิดเทป หรือ CD
เพราะแบบนั้นผมจะตั้งใจฟัง รู้ลำดับของเพลงต่อไป . . . เมื่อฟังจนครบ album
แล้วถ้าไม่ฟังซ้ำก็ต้องไปเปลี่ยนเทป
ไม่ว่าเทป หรือ แผ่น CD ในสมัยก่อนถือว่าแพงมากแล้ว สำหรับเด็กวัยเรียนที่ยังไม่มีรายได้
มีเพียงค่าขนมรายวันที่ต้องอดออมเป็นเวลานานกว่าจะซื้อ CD ได้สักแผ่น . . .
แต่วิทยุนั้นฟังเรื่อยๆ สบายๆ ไม่ serious ไม่เสียเงิน
ตั้งใจฟังบ้าง ไม่ตั้งใจฟังบ้าง เพลงต่อไปเป็นเพลงอะไรก็ไม่รู้ เปิดมาก็ฟังได้หมด
เพราะจิตใจไม่ได้จดจ่ออยู่กับการฟังดนตรีเป็นสำคัญ ทำงานไปแล้วก็ฟังเพลง ฟังเรื่องเล่า ไปด้วย
สำหรับผมแล้วมันดีกว่าการนั่งทำงานเงียบๆเป็นไหนๆ . . .
คุณหมึก วิโรจน์ (ควันธรรม)
คุณเดือนเพ็ญ (สีหรัตน์)
คุณวาสนา วีระชาติพลี
คุณเอ็ดดี้ พิทยากร ลีลาพัฒน์
คุณอารี แท่นคำ
คุณวิฑูร วทัญญู
และอีกหลายคน หลายคลื่น
สเน่ห์ของคนเปิดเพลงในสมัยก่อนนั้น คือ การเล่าเรื่อง . . .
ทั้งจากประสบการณ์ของตัวเอง หรือจากข้อมูลที่ทำการบ้านมาอย่างดี
ทำให้เราได้รู้เกล็ดเล็กเกล็ดน้อย หรือ เรื่องเล่าที่น่าสนใจไปพร้อมๆกับการได้ฟังเพลง
และหลายครั้งที่ผมอยากฟังเรื่องเล่าจากปากของดีเจ มากกว่าการเปิดเพลง
เวลาผ่านไป วัยล่วงเลย พฤติกรรมก็เปลี่ยนไปด้วย
เทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกล และมีช่องทางให้เราสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วกว่าสมัยก่อนหลายเท่าตัว
การหาเพลงฟังก็ทำได้ง่ายและประหยัด สถานีวิทยุก็มีทางเลือกที่หลากหลาย
ในขณะที่โลกเจริญก้าวหน้า ผมกลับรู้สึกว่า คลื่นวิทยุและคนเปิดเพลงในปัจจุบัน กลับไม่น่าติดตามเหมือนสมัยก่อน
สเน่ห์ของคนเปิดเพลงและเรื่องเล่าที่น่าติดตามมันขาดหายไป
จะบอกว่าคนเปิดเพลงยุคนี้ดีไม่เท่าสมัยก่อนก็คงไม่ได้ เพราะ ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป
และวัยของผมอาจจะไม่เหมาะกับคนเปิดเพลงในยุคใหม่ก็เป็นได้
จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผมพบว่า ผมไม่ฟังวิทยุเหมือนเคย
แม้ว่าผมเริ่มต้นการฟังวิทยุด้วยเหตุผลของการ 'ไม่ตั้งใจ'ฟัง . . .
แต่ผมพบว่าความไม่ตั้งใจเหล่านั้น ถูกชักนำและเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็น 'ความตั้งใจ' อย่างไม่รู้ตัว
ก็ด้วยสเน่ห์ของคนเปิดเพลงนั่นเองที่ทำให้ความไม่ตั้งใจเหล่านั้น . . . น่ารื่นรมย์
Lamy Safari Alpine White
0
comments |
This entry was posted on August 10, 2012
Lamy Alpine White
ตามที่ผมเข้าใจคือ ไม่ใช่สี limited เพราะเป็นสีที่ผลิตออกมาขายอย่างต่อเนื่องทุกปี
แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันนิดๆหน่อย จนเรียกเป็น Generation ขึ้น
Alpine white ของผมด้ามนี้เป็น Gen หลังๆแล้ว เข้าใจว่าเป็นช่วง 1990's . . . เพราะ Nib ก็เป็นรุ่นใหม่แล้ว และที่ท้ายปากกาก็ไม่มีตัว W ที่สื่อถึง West เหมือน Gen แรกๆ . . . แต่ด้วยความที่เป็น New old stock ก็ควรค่าที่จะเก็บไว้
สมัยผมเป็นนิสิต ผมจำได้ว่า Alpine white เป็นสีที่ได้รับความนิยมมากๆ ทั้งชายและหญิง ต่างก็ซื้อมาใช้กัน ด้วยความที่มันสวย สะอาด และ classic ใช้กันเยอะจนทำให้ผมเลี่ยงไปใช้สีเหลือง clip ดำแทน เพราะคิดว่ามันสดใส และแตกต่าง . . .
แต่ผลก็คือ ไม่ว่าจะสีอะไร ก็มีคนใช้มากมายทั้งนั้น ด้วยความที่มันถูกออกแบบมาอย่างลงตัว สวยงาม เบาและเขียนลื่้นมือ น่าเสียดายที่ผมไม่ได้คิดจะสะสมไว้ในสมัยนั้น จึงทำให้ต้องมาตามหา ตามเก็บกันในช่วงที่เลิกผลิตไปแล้ว
ผิว(body)ขาว
ผม(clip)ดำ
หัว(cap)ดำ
สวยงามครับ :)
Agree?
Alpine white ของผมด้ามนี้เป็น Gen หลังๆแล้ว เข้าใจว่าเป็นช่วง 1990's . . . เพราะ Nib ก็เป็นรุ่นใหม่แล้ว และที่ท้ายปากกาก็ไม่มีตัว W ที่สื่อถึง West เหมือน Gen แรกๆ . . . แต่ด้วยความที่เป็น New old stock ก็ควรค่าที่จะเก็บไว้
สมัยผมเป็นนิสิต ผมจำได้ว่า Alpine white เป็นสีที่ได้รับความนิยมมากๆ ทั้งชายและหญิง ต่างก็ซื้อมาใช้กัน ด้วยความที่มันสวย สะอาด และ classic ใช้กันเยอะจนทำให้ผมเลี่ยงไปใช้สีเหลือง clip ดำแทน เพราะคิดว่ามันสดใส และแตกต่าง . . .
แต่ผลก็คือ ไม่ว่าจะสีอะไร ก็มีคนใช้มากมายทั้งนั้น ด้วยความที่มันถูกออกแบบมาอย่างลงตัว สวยงาม เบาและเขียนลื่้นมือ น่าเสียดายที่ผมไม่ได้คิดจะสะสมไว้ในสมัยนั้น จึงทำให้ต้องมาตามหา ตามเก็บกันในช่วงที่เลิกผลิตไปแล้ว
ผิว(body)ขาว
ผม(clip)ดำ
หัว(cap)ดำ
สวยงามครับ :)
Agree?
2D Classical Animation Studio at SCAD
0
comments |
This entry was posted on August 6, 2012
ช่วงปีแรกของปริญญาโทของคณะ Computer Art ที่ SCAD สมัยที่ผมไปเรียนนั้น
มีวิชา studio วิชานึง ที่นักเรียนต้องจับดินสอมากกว่า mouse
เป็นวิชาที่นักศึกษาภาค 3D และ Motion graphics ต้องลงเรียน
ผมกำลังพูดถึงวิชา 2D Classical Animation . . . ซึ่งว่าด้วยการวาด วาด และวาด นั่นเอง
Classical animation เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยการวาดภาพแบบ frame by frame
ผู้วาดจำเป็นต้องใช้โต๊ะที่มีไฟส่องขึ้นมา หรือเรียกว่าโต๊ะ Draft ไฟ เพื่อจะทำให้เห็นภาพและสัดส่วนของ frame ก่อนหน้าที่เรากำลังวาดอยู่ ทำให้เราสามารถกำหนดจังหวะของความเคลื่อนไหวใน frame ถัดไปได้อย่างแม่นยำ ไม่มั่ว . . .
สมัยที่ผมเรียนนั้น media ที่ใช้บันทึก Animation ยังเป็นตลับเทป VHS ม้วนใหญ่
ซึ่งความคุณภาพ และ สะดวกสบายยังไม่เทียบเท่ากับยุค digital แบบในปัจจุบัน
การทำงานนั้นไม่มีเทคนิค อะไรพิศดาร มีเพียงแต่ใจ และความอดทนของการฝึกฝนเท่านั้น
สมัยนั้นระบบโทรทัศน์แบบ Analog ของ USA คือระบบ NTSC (National Television System Committee)
ซึ่ง 1 วินาทีจะประกอบไปด้วย frame ถึง 30 frames (29.97)
นั่นหมายความว่า Animation 1 วินาทีจะต้องประกอบไปด้วยภาพ 30 ภาพฉายต่อเนื่องกัน
ถ้าคิดจะทำ animation 1 นาที (60 วินาที) ก็เท่ากับ 60 x 30 = 1800 ภาพ
วาด วาด แล้วก็วาด . . . คือทางเดียวที่ต้องสู้ไป
วาดลงกระดาษเสร็จแล้วก็ถ่ายรูปทีละภาพเพื่อนำภาพถ่ายนั้นเข้าไป run ใน software ที่สามารถตัดต่อและใส่เสียงเข้าไปได้
ความยากไม่ใช่เพียงแค่ต้องใช้เวลาและใช้ใจสู้ แต่การกำหนด key frame และการวาด inbetween frames จำนวนมากมายเพื่อให้ animation ออกมา smooth นั้น ยากที่สุด
ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่ใช่แค่ 1 เทอมแต่อาจใช้เวลายาวนานเป็นปีในการสะสม experience . . . เพราะมันไม่มีทางลัด ไม่มี short cut หรือ filter อะไรในการอำนวยความสะดวก
ถือเป็นวิชาที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจ stroyboard, animatic, layout, timing และ movement ได้เป็นอย่างดี
Santa Monica 2003
0
comments |
This entry was posted on August 3, 2012
Santa Monica Beach ปี 2003
ถ่ายไว้สมัยที่ยังทำงานเป็น motion graphics designer อยู่ที่นั่น
Apartment ที่พักก็อยู่ไม่ไกลจาก beach เท่าไหร่
อากาศดีมากตลอดวัน ตลอดปี . . . ไม่ต้องใช้ Air condition ก็นอนได้สบายทุกคืน เนื่องจากลมพัดจากทะเลเข้ามาทำให้เย็นสบายมาก
เดินนิดเดียวก็ถึง 3rd St promanade . . . เดินต่ออีกนิดก็ถึง beach รถก็ไม่ค่อยติด อากาศก็ดี ทำงานรายได้สูง คุณภาพชีวิตดีมากๆ
บ่อยครั้งที่ผมคิดถึงบรรยากาศของการใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น โดยเฉพาะเวลาที่เห็นสภาพของเมืองกรุงและคนกรุงที่วุ่นวายสับสนอย่างกรุงเทพฯทุกวันนี้ . . .
ผมชักเริ่มไม่แน่ใจแล้วกับคำพูดที่ว่า 'อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเกิด'
เดินนิดเดียวก็ถึง 3rd St promanade . . . เดินต่ออีกนิดก็ถึง beach รถก็ไม่ค่อยติด อากาศก็ดี ทำงานรายได้สูง คุณภาพชีวิตดีมากๆ
บ่อยครั้งที่ผมคิดถึงบรรยากาศของการใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น โดยเฉพาะเวลาที่เห็นสภาพของเมืองกรุงและคนกรุงที่วุ่นวายสับสนอย่างกรุงเทพฯทุกวันนี้ . . .
ผมชักเริ่มไม่แน่ใจแล้วกับคำพูดที่ว่า 'อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเกิด'
24
0
comments |
This entry was posted on
ปรกติผมเป็นคนที่ไม่เคยสนใจ หรือติดตามดู TV series เลย
ด้วยความที่หนังมีความยาวและต้องใช้เวลาในการดูที่นาน
แค่หนังโรง 2-3 ชม. ก็ยังแทบจะไม่มีโอกาสได้เข้าไปดู ดังนั้น TV Series นี่ไม่ต้องพูดถึง
แต่ช่วงที่ผ่านมาตัดสินใจทดลองดูเป็นครั้งแรก กับ TV series ชื่อสั้นๆว่า '24'
24 มีทั้งหมด 8 ภาคด้วยกัน โดยภาคแรกนั้นเริ่มออกอากาศในปี 2001
ผลิตโดย Fox Network และเริ่มฉายใน USA ก่อนที่จะขายลิขสิทธิ์ให้กับประเทศอื่นๆทั่วโลก
ในไทยต้องดูช่อง AXN
24 เป็นหนังใน style ที่ใครๆก็คุ้นเคย คือ ตำรวจจับผู้ร้าย
ซึ่งมองผ่านๆก็ไม่มีอะไรน่าสนใจเท่าไหร่ . . . และคุ้นๆว่าผมเคยเห็นผ่านตาในจอ TV มาแล้ว สมัยไปเรียนต่อที่ USA
แต่ก็เปลี่ยนช่อง มองผ่านไปอย่างไม่สนใจ
ผ่านไปสิบกว่าปี มาทดลองดู ก็พบว่า . . . หยุดแทบไม่ได้ !
หนังดำเนินเรื่องด้วย concept ของเวลาจริง . . .
โดยแต่ละนาทีในเวลาออกอากาศนั้นตรงกับแต่ละนาทีในชีวิตของตัวละครเช่นกัน
"ตามเวลาจริง"
รวดเร็ว ตื่นเต้น ลุ้น ระทึก ซ้อนทับ หักมุม และติดงอมแงม . . .
8 ภาค > ภาคละ 6 แผ่น > แผ่นละ 4 ชม.
ใครยังไม่ได้ดูและคิดจะดูก็จัดสรรเวลาว่างให้ดีครับ