2D Classical Animation Studio at SCAD
This entry was posted on August 6, 2012
ช่วงปีแรกของปริญญาโทของคณะ Computer Art ที่ SCAD สมัยที่ผมไปเรียนนั้น
มีวิชา studio วิชานึง ที่นักเรียนต้องจับดินสอมากกว่า mouse
เป็นวิชาที่นักศึกษาภาค 3D และ Motion graphics ต้องลงเรียน
ผมกำลังพูดถึงวิชา 2D Classical Animation . . . ซึ่งว่าด้วยการวาด วาด และวาด นั่นเอง
Classical animation เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยการวาดภาพแบบ frame by frame
ผู้วาดจำเป็นต้องใช้โต๊ะที่มีไฟส่องขึ้นมา หรือเรียกว่าโต๊ะ Draft ไฟ เพื่อจะทำให้เห็นภาพและสัดส่วนของ frame ก่อนหน้าที่เรากำลังวาดอยู่ ทำให้เราสามารถกำหนดจังหวะของความเคลื่อนไหวใน frame ถัดไปได้อย่างแม่นยำ ไม่มั่ว . . .
สมัยที่ผมเรียนนั้น media ที่ใช้บันทึก Animation ยังเป็นตลับเทป VHS ม้วนใหญ่
ซึ่งความคุณภาพ และ สะดวกสบายยังไม่เทียบเท่ากับยุค digital แบบในปัจจุบัน
การทำงานนั้นไม่มีเทคนิค อะไรพิศดาร มีเพียงแต่ใจ และความอดทนของการฝึกฝนเท่านั้น
สมัยนั้นระบบโทรทัศน์แบบ Analog ของ USA คือระบบ NTSC (National Television System Committee)
ซึ่ง 1 วินาทีจะประกอบไปด้วย frame ถึง 30 frames (29.97)
นั่นหมายความว่า Animation 1 วินาทีจะต้องประกอบไปด้วยภาพ 30 ภาพฉายต่อเนื่องกัน
ถ้าคิดจะทำ animation 1 นาที (60 วินาที) ก็เท่ากับ 60 x 30 = 1800 ภาพ
วาด วาด แล้วก็วาด . . . คือทางเดียวที่ต้องสู้ไป
วาดลงกระดาษเสร็จแล้วก็ถ่ายรูปทีละภาพเพื่อนำภาพถ่ายนั้นเข้าไป run ใน software ที่สามารถตัดต่อและใส่เสียงเข้าไปได้
ความยากไม่ใช่เพียงแค่ต้องใช้เวลาและใช้ใจสู้ แต่การกำหนด key frame และการวาด inbetween frames จำนวนมากมายเพื่อให้ animation ออกมา smooth นั้น ยากที่สุด
ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่ใช่แค่ 1 เทอมแต่อาจใช้เวลายาวนานเป็นปีในการสะสม experience . . . เพราะมันไม่มีทางลัด ไม่มี short cut หรือ filter อะไรในการอำนวยความสะดวก
ถือเป็นวิชาที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจ stroyboard, animatic, layout, timing และ movement ได้เป็นอย่างดี
No Response to "2D Classical Animation Studio at SCAD"
Post a Comment