Finally, I end up get into the micro four third world instead of the full frame world.
Only one reason that keep me here, micro four third world, is the portability. That inspires me to go out with camera more often...More chances to get a pix.
Taladnamsipak (ตลาดน้ำสี่ภาค)
0
comments |
This entry was posted on April 23, 2010
ผิวคลื่นม้วนโค้งตัว กระเพื่อมเข้ากระทบฝั่งอย่างแผ่วเบาตามฝีใบพาย
เคล้าแดดระอุยามบ่ายช่วงสงกรานต์ที่สาดส่องทุกพื้นที่อย่างไม่แยแส มันเคลื่อนตัวเข้าสู่ตลิ่ง ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย นำพาลมเหนือน้ำเข้ากระทบอาบไล้ผิวของผู้คนที่เดินขวักไขว่ เหลียวซ้ายแลขวาอย่างเนิบนาบ เสียงแผ่นพื้นไม้เสียดสีจากแรงกดของตีนใครและใครหลายคนที่ต่างเข้ามาจับจ่ายอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของมากหน้าหลายตา ณ ที่นี้
เตาถ่านและกระทะหลุมร้อน เผาไหม้กะทิและแป้งจนเกรียมกรอบ เค็ม หวาน พร้อมถูกแซะขึ้นพักตัวในกระทงใบตองเขียว. . .หม้อน้ำร้อนขึงผ้าขาวตึง นึ่งแผ่นแป้งสอดใส้เค็ม ที่ถูกพับม้วน ห่มขาวอย่างสวยงามในนามข้าวเกรียบปากหม้อ ลอยมาเคียงกัน. . .กระเช้าหวายบรรจุต้นหอม ผักชี สำหรับโรยหน้า หมูต้มสดหั่นพอดีคำ มะนาว ถั่วลิสง พริก น้ำตาล ที่พร้อมโรยตัวลงบนเส้นก๋วยเตี๋ยวลวกร้อน เรียกน้ำลายให้สอได้อย่างไม่ยากนัก ล้วนมีให้เห็นได้เป็นระยะ ระหว่างทางเดินที่ทอดตัวออกไปไกลสุดสายตา . . .
พัทยา พ.ศ. นี้ นอกจากทะเล ที่หมายถึงการหลั่งไหลเข้ามาของนักอาบแดด
...บนฝั่ง...ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่แพ้กัน
นักธุรกิจโปรบเม็ดเงินมหาศาลไว้ที่นี่ . . . โรงแรมหลายระดับ ทั้งแบบไทย แบบอเมริกัน แบบยุโรป และแบบชั่วคราว หรือ ค้างคืน...มีให้เลือกใช้ชีวิตกันตามอัธยาศัย มันคือป่าคอนกรีตของผู้ดีมีอันจะกินทั้งหลาย ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในช่วงพักร้อนได้อย่างดี
ผู้คนมากมายหลั่งไหลสู่พัทยา นักท่องเที่ยวเดินทางมากับรถบัสคันใหญ่ ขณะที่ไกด์สบัดลิ้น
อธิบายถึงความอร่อยของก๋วยเตี๋ยวเรือ ขนมไทย และน้ำผลไม้สดในตลาดแห่งนี้
ผมเชื่อว่าเขามีสัมพันธ์เปอร์เซนต์ที่นี่ คนจัดคิวเรือตะโกนเรียกลูกค้าด้วยถ้อยคำโผงผาง สาวชุดไทยยืนต้อนรับบริเวณทางเข้า ซุ้มของที่ระลึกเป็นภาพถ่ายของนักท่องเที่ยวที่ถูก candid ใส่กรอบไว้เรียบร้อยที่ทางออก มันเป็นพื้นที่ธุระกิจขนาดใหญ่ เป็นสีสันน่าตื่นเต้นของคนแปลกหน้า . . .
ฝรั่งหัวทองผิวตกกระ
ผู้หญิงใส่ขาสั้นควงแขนกับแฟนหนุ่ม
อาม่าและอากงกับหลานสาวในอ้อมแขน
ของชำร่วย และเครื่องดื่มหลากสี
ก๋วยเตี๋ยว ขนม และผลไม้บนเรือแจว
เรือนไม้ไทยโบราณ ปั้นหยา หน้าจั่ว และประภาคารไม้ เด่นตระหง่านสู้แดดฝน
ผมกำลังพูดถึง 'ตลาดน้ำสี่ภาค'
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทาง ศิลปวัฒนธรรมไทย แห่งใหม่กลางใจเมืองพัทยา
การมาเยือนตลาดแห่งนี้เป็นครั้งที่สองของผมมี ซึ่งแม้ว่าจะมีเวลาไม่กี่สิบนาฑี
ผมก็ยังรู้สึกดีกว่านั่งจิบไวน์ที่คอคเทลเลานจ์ หรือนั่งจั่วไพ่ในห้องพักของโรงแรมเป็นไหนๆ
กล้องถอยห่างปรับความชัดเจน เห็นความกว้างของที่ว่างบนผืนน้ำที่โอบล้อมด้วยสถาปัตยกรรมไทยโบราณทั้ง 4 ภาค
บ้างยื่นเข้าใกล้วัตถุ แบบโคลสอัพ เน้นรายละเอียด
บ้างแพนตามสายตาหล่อนถึงถาดมะม่วงเปรี้ยวเคล้าพริกน้ำปลา
บ้างกดลงเก็บภาพของเงาแดดที่สาดผ่านระเบียงไม้สู่แผ่นพื้นอย่างมีเสน่ห์
ถ้าเป็นไปได้...ผมอยากใช้เวลากับที่นี่ให้นานกว่านี้
อาหารทะเลพื้นเมืองที่เสริฟมาในลูกมะพร้าวอ่อน กุ้งเผา และปลากระพงนึ่งมะนาว พร้อมน้ำจิ้มทะเลรสจัดจ้าน. . .ผมคิดเลยไปถึงการนอนเต๊นท์ค้างแรมริมแม่น้ำ ในบรรยากาศแบบนี้ . . .
มันคงจะดีถ้าได้ลืมตาขึ้นในยามเช้า ภายในบรรยากาศริมน้ำ พร้อมการมาถึงของกาแฟคั่วบดอุ่นร้อนพอดีดื่ม. . .มันเป็นการแสวงหาความสุขที่แตกต่าง ที่หาไม่ได้ในป่าคอนกรีตไหนๆ
แม้ทั้งหมดนั้น ผมทำได้เพียงแค่วาดมโนภาพขึ้นภายในซอกหลืบของสมอง
แต่มันสร้างรอยยิ้มในหัวใจของผมได้อย่างชุ่มชื่น . . .
ชั่วเวลาไม่กี่สิบนาฑีที่ผมมาผ่านเวลาชีวิตที่นี่ สิ่งเดียวที่ผมไม่ลังเลที่จะทำ คือการบันทึกภาพบรรยากาศความทรงจำลงในแผ่นความจำขนาดเล็ก ผ่านเลนส์และเครื่องบันทึกภาพขนาดย่อม (LX3) ที่ผมติดตัวไปด้วย กลับมาเป็นที่ระลึก . . .
ผมยังไม่รู้จักที่นี่ดีนัก ยังจำรายละเอียดต่างๆไม่ค่อยได้
ไม่รู้แม้กระทั่งรสชาติของอาหารหรือขนมจากแม่ค้าในเรือแจว
ผมรู้เพียงแค่...ผมจะกลับไปเยือนตลาดแห่งนี้อีกครั้ง และอีกครั้ง...อย่างแน่นอน เมื่อโอกาสมาถึง
เคล้าแดดระอุยามบ่ายช่วงสงกรานต์ที่สาดส่องทุกพื้นที่อย่างไม่แยแส มันเคลื่อนตัวเข้าสู่ตลิ่ง ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย นำพาลมเหนือน้ำเข้ากระทบอาบไล้ผิวของผู้คนที่เดินขวักไขว่ เหลียวซ้ายแลขวาอย่างเนิบนาบ เสียงแผ่นพื้นไม้เสียดสีจากแรงกดของตีนใครและใครหลายคนที่ต่างเข้ามาจับจ่ายอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของมากหน้าหลายตา ณ ที่นี้
เตาถ่านและกระทะหลุมร้อน เผาไหม้กะทิและแป้งจนเกรียมกรอบ เค็ม หวาน พร้อมถูกแซะขึ้นพักตัวในกระทงใบตองเขียว. . .หม้อน้ำร้อนขึงผ้าขาวตึง นึ่งแผ่นแป้งสอดใส้เค็ม ที่ถูกพับม้วน ห่มขาวอย่างสวยงามในนามข้าวเกรียบปากหม้อ ลอยมาเคียงกัน. . .กระเช้าหวายบรรจุต้นหอม ผักชี สำหรับโรยหน้า หมูต้มสดหั่นพอดีคำ มะนาว ถั่วลิสง พริก น้ำตาล ที่พร้อมโรยตัวลงบนเส้นก๋วยเตี๋ยวลวกร้อน เรียกน้ำลายให้สอได้อย่างไม่ยากนัก ล้วนมีให้เห็นได้เป็นระยะ ระหว่างทางเดินที่ทอดตัวออกไปไกลสุดสายตา . . .
พัทยา พ.ศ. นี้ นอกจากทะเล ที่หมายถึงการหลั่งไหลเข้ามาของนักอาบแดด
...บนฝั่ง...ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่แพ้กัน
นักธุรกิจโปรบเม็ดเงินมหาศาลไว้ที่นี่ . . . โรงแรมหลายระดับ ทั้งแบบไทย แบบอเมริกัน แบบยุโรป และแบบชั่วคราว หรือ ค้างคืน...มีให้เลือกใช้ชีวิตกันตามอัธยาศัย มันคือป่าคอนกรีตของผู้ดีมีอันจะกินทั้งหลาย ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในช่วงพักร้อนได้อย่างดี
ผู้คนมากมายหลั่งไหลสู่พัทยา นักท่องเที่ยวเดินทางมากับรถบัสคันใหญ่ ขณะที่ไกด์สบัดลิ้น
อธิบายถึงความอร่อยของก๋วยเตี๋ยวเรือ ขนมไทย และน้ำผลไม้สดในตลาดแห่งนี้
ผมเชื่อว่าเขามีสัมพันธ์เปอร์เซนต์ที่นี่ คนจัดคิวเรือตะโกนเรียกลูกค้าด้วยถ้อยคำโผงผาง สาวชุดไทยยืนต้อนรับบริเวณทางเข้า ซุ้มของที่ระลึกเป็นภาพถ่ายของนักท่องเที่ยวที่ถูก candid ใส่กรอบไว้เรียบร้อยที่ทางออก มันเป็นพื้นที่ธุระกิจขนาดใหญ่ เป็นสีสันน่าตื่นเต้นของคนแปลกหน้า . . .
ฝรั่งหัวทองผิวตกกระ
ผู้หญิงใส่ขาสั้นควงแขนกับแฟนหนุ่ม
อาม่าและอากงกับหลานสาวในอ้อมแขน
ของชำร่วย และเครื่องดื่มหลากสี
ก๋วยเตี๋ยว ขนม และผลไม้บนเรือแจว
เรือนไม้ไทยโบราณ ปั้นหยา หน้าจั่ว และประภาคารไม้ เด่นตระหง่านสู้แดดฝน
ผมกำลังพูดถึง 'ตลาดน้ำสี่ภาค'
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทาง ศิลปวัฒนธรรมไทย แห่งใหม่กลางใจเมืองพัทยา
การมาเยือนตลาดแห่งนี้เป็นครั้งที่สองของผมมี ซึ่งแม้ว่าจะมีเวลาไม่กี่สิบนาฑี
ผมก็ยังรู้สึกดีกว่านั่งจิบไวน์ที่คอคเทลเลานจ์ หรือนั่งจั่วไพ่ในห้องพักของโรงแรมเป็นไหนๆ
กล้องถอยห่างปรับความชัดเจน เห็นความกว้างของที่ว่างบนผืนน้ำที่โอบล้อมด้วยสถาปัตยกรรมไทยโบราณทั้ง 4 ภาค
บ้างยื่นเข้าใกล้วัตถุ แบบโคลสอัพ เน้นรายละเอียด
บ้างแพนตามสายตาหล่อนถึงถาดมะม่วงเปรี้ยวเคล้าพริกน้ำปลา
บ้างกดลงเก็บภาพของเงาแดดที่สาดผ่านระเบียงไม้สู่แผ่นพื้นอย่างมีเสน่ห์
ถ้าเป็นไปได้...ผมอยากใช้เวลากับที่นี่ให้นานกว่านี้
อาหารทะเลพื้นเมืองที่เสริฟมาในลูกมะพร้าวอ่อน กุ้งเผา และปลากระพงนึ่งมะนาว พร้อมน้ำจิ้มทะเลรสจัดจ้าน. . .ผมคิดเลยไปถึงการนอนเต๊นท์ค้างแรมริมแม่น้ำ ในบรรยากาศแบบนี้ . . .
มันคงจะดีถ้าได้ลืมตาขึ้นในยามเช้า ภายในบรรยากาศริมน้ำ พร้อมการมาถึงของกาแฟคั่วบดอุ่นร้อนพอดีดื่ม. . .มันเป็นการแสวงหาความสุขที่แตกต่าง ที่หาไม่ได้ในป่าคอนกรีตไหนๆ
แม้ทั้งหมดนั้น ผมทำได้เพียงแค่วาดมโนภาพขึ้นภายในซอกหลืบของสมอง
แต่มันสร้างรอยยิ้มในหัวใจของผมได้อย่างชุ่มชื่น . . .
ชั่วเวลาไม่กี่สิบนาฑีที่ผมมาผ่านเวลาชีวิตที่นี่ สิ่งเดียวที่ผมไม่ลังเลที่จะทำ คือการบันทึกภาพบรรยากาศความทรงจำลงในแผ่นความจำขนาดเล็ก ผ่านเลนส์และเครื่องบันทึกภาพขนาดย่อม (LX3) ที่ผมติดตัวไปด้วย กลับมาเป็นที่ระลึก . . .
ผมยังไม่รู้จักที่นี่ดีนัก ยังจำรายละเอียดต่างๆไม่ค่อยได้
ไม่รู้แม้กระทั่งรสชาติของอาหารหรือขนมจากแม่ค้าในเรือแจว
ผมรู้เพียงแค่...ผมจะกลับไปเยือนตลาดแห่งนี้อีกครั้ง และอีกครั้ง...อย่างแน่นอน เมื่อโอกาสมาถึง
Sony a352
0
comments |
This entry was posted on April 19, 2010
ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผมเริ่มสนใจในเรื่องของการถ่ายภาพมากขึ้น
ทั้งที่ล้มเลิกความตั้งใจไปตั้งแต่สมัยยังเป็นนิสิตสถาปัตย์อยู่ ในยุคนั้นกล้องต้องใช้ Film ในการบันทึกภาพ ทุกครั้งที่ถ่ายภาพต้องเสียเงินล้างภาพและอัดลงกระดาษ ซึ่งสิ้นเปลือง
เด็ก (นิสิต) ที่มีรายรับเพียงแค่การสอนติวสอบ entrance อย่างผมก็ยอมแพ้ต่อราคาค่าใช้จ่ายของการถ่ายรูปไปได้อย่างไม่ยากเย็น
ถึงกระนั้น ผมก็ยังมีโอกาสได้มี SLR กับเขา . . .
ด้วยความเห่อ และคิดว่าจะใช้มันประกอบอาชีพออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมได้ดี
ใช้ถ่าย site งาน หรือแม้กระทั่งผลงานการออกแบบ
แต่ด้วยความใหญ่ และน้ำหนักที่มากของกล้องและ lens
ส่งผลให้ ผมเองต้องหยุดคิดทุกครั้งที่จะแบกกล้องออกจากบ้าน ต้องวางแผนให้ดี
ด้วยเหตุผลของราคาค่าใช้จ่ายในการล้างรูป + น้ำหนักที่มากของ SLR และ Lens ทำให้ผมยอมแพ้และเลิกล้มความตั้งใจในการถ่ายรูปไปอย่างน่าเสียดาย ผมตัดสินใจเก็บ SLR ไว้ที่บ้านสมัยผมไปเรียนต่อที่ USA และนั่นเป็นช่วงที่ digital camera เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการถ่ายรูปมากขึ้น . . .
จนถึงปัจจุบัน ความแตกต่าง หรือข้อดี-เสียระหว่าง SLR กับ DSLR คงไม่ใช่เรื่องแปลก หรือ เรื่องที่น่าตื่้นเต้นอะไร ทุกๆคนไม่ว่าจะมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นเข้าใจมัน และก้าวเข้าสู่โลกของ digital อย่างเต็มตัว
สิ่งที่น่าสนใจคือ ยิ่งเวลาผ่านไป เราก็ยิ่งได้เห็น compact digital camera ใน design ที่น่าสนใจ เปรี้ยว เฉี่ยว เก่ เท่ห์ ออกมาให้ได้เลือกใช้กันมากจนนับไม่ถ้วน . . . แต่ผมแทบไม่เห็นสีสรรความสนุกแบบนี้ในกล้องใหญ่อย่าง DSLR เลย คงเป็นเพราะว่ากล้องใหญ่นั้นเน้นความจริงจังและ function ในการถ่ายรูปเป็นหลัก มากกว่าเป็น fashion ไว้พกติดตัวเหมือนเครื่องประดับอย่างกล้อง compact นั่นเอง แต่เหตุผลนี้เพียงพอหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกแบบ จริงหรือ?
แล้วผมก็พบกับความสนุกของการ design บน DSLR ขณะที่กำลัง surf internet เพลินๆเข้าให้จนได้
ความสนุกที่ว่านั้นก็คืองานของ Rayan David นักเรียนในสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ California College of the Arts
เห็นแล้วก็อดยิ้ม สนุก และอยากเห็น idea ในลักษณะนี้อีกมากๆ
เพราะผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะ compact หรือ pro camera ก็สามารถที่จะ add ความสนุก ความน่าสนใจ เข้าไปได้ไม่ต่างกัน . . . โลกก็ของการถ่ายภาพคงดูสนุกสนานมากยิ่งขึ้น และความท้ายทายของนักออกแบบก็น่าจะมีมากขึ้นเรื่อยๆตามกันไป...
ทั้งที่ล้มเลิกความตั้งใจไปตั้งแต่สมัยยังเป็นนิสิตสถาปัตย์อยู่ ในยุคนั้นกล้องต้องใช้ Film ในการบันทึกภาพ ทุกครั้งที่ถ่ายภาพต้องเสียเงินล้างภาพและอัดลงกระดาษ ซึ่งสิ้นเปลือง
เด็ก (นิสิต) ที่มีรายรับเพียงแค่การสอนติวสอบ entrance อย่างผมก็ยอมแพ้ต่อราคาค่าใช้จ่ายของการถ่ายรูปไปได้อย่างไม่ยากเย็น
ถึงกระนั้น ผมก็ยังมีโอกาสได้มี SLR กับเขา . . .
ด้วยความเห่อ และคิดว่าจะใช้มันประกอบอาชีพออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมได้ดี
ใช้ถ่าย site งาน หรือแม้กระทั่งผลงานการออกแบบ
แต่ด้วยความใหญ่ และน้ำหนักที่มากของกล้องและ lens
ส่งผลให้ ผมเองต้องหยุดคิดทุกครั้งที่จะแบกกล้องออกจากบ้าน ต้องวางแผนให้ดี
ด้วยเหตุผลของราคาค่าใช้จ่ายในการล้างรูป + น้ำหนักที่มากของ SLR และ Lens ทำให้ผมยอมแพ้และเลิกล้มความตั้งใจในการถ่ายรูปไปอย่างน่าเสียดาย ผมตัดสินใจเก็บ SLR ไว้ที่บ้านสมัยผมไปเรียนต่อที่ USA และนั่นเป็นช่วงที่ digital camera เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการถ่ายรูปมากขึ้น . . .
จนถึงปัจจุบัน ความแตกต่าง หรือข้อดี-เสียระหว่าง SLR กับ DSLR คงไม่ใช่เรื่องแปลก หรือ เรื่องที่น่าตื่้นเต้นอะไร ทุกๆคนไม่ว่าจะมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นเข้าใจมัน และก้าวเข้าสู่โลกของ digital อย่างเต็มตัว
สิ่งที่น่าสนใจคือ ยิ่งเวลาผ่านไป เราก็ยิ่งได้เห็น compact digital camera ใน design ที่น่าสนใจ เปรี้ยว เฉี่ยว เก่ เท่ห์ ออกมาให้ได้เลือกใช้กันมากจนนับไม่ถ้วน . . . แต่ผมแทบไม่เห็นสีสรรความสนุกแบบนี้ในกล้องใหญ่อย่าง DSLR เลย คงเป็นเพราะว่ากล้องใหญ่นั้นเน้นความจริงจังและ function ในการถ่ายรูปเป็นหลัก มากกว่าเป็น fashion ไว้พกติดตัวเหมือนเครื่องประดับอย่างกล้อง compact นั่นเอง แต่เหตุผลนี้เพียงพอหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกแบบ จริงหรือ?
แล้วผมก็พบกับความสนุกของการ design บน DSLR ขณะที่กำลัง surf internet เพลินๆเข้าให้จนได้
ความสนุกที่ว่านั้นก็คืองานของ Rayan David นักเรียนในสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ California College of the Arts
เห็นแล้วก็อดยิ้ม สนุก และอยากเห็น idea ในลักษณะนี้อีกมากๆ
เพราะผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะ compact หรือ pro camera ก็สามารถที่จะ add ความสนุก ความน่าสนใจ เข้าไปได้ไม่ต่างกัน . . . โลกก็ของการถ่ายภาพคงดูสนุกสนานมากยิ่งขึ้น และความท้ายทายของนักออกแบบก็น่าจะมีมากขึ้นเรื่อยๆตามกันไป...
CS5
0
comments |
This entry was posted on April 15, 2010
ข่าวการเปิดตัวของ Adobe CS5 เมื่อวันที่ 12 เมษา ที่ผ่านมาคงเป็นที่จับตามองและรอคอยของผู้ใช้หลายต่อหลายคน รวมถึงตัวผมด้วย . . .
ด้วยความที่อยากเห็น new features ของทุก Software ใน Creative Suite 5
และด้วยชีวิตประจำวันที่ไม่สามารถที่จะเพิกเฉย ต่อสิ่งเหล่านี้ได้
แม้ว่าในการใช้งานจริงๆแล้ว ผมเองก็ยังใช้ feature เดิมๆ ที่มีมาตั้งแต่ version เก่าๆได้ไม่หมด และได้ไม่คล่องตัว . . . แต่การปฎิเสธหรือเมินเฉยต่อ new technology ก็ดูจะเป็นแนวทางที่ไม่น่าจะถูกต้องนัก ส่งผลให้ข่าวของ CS5 อยู่ในกระแสความสนใจของผมมาเป็นเวลาหลายเดือน
ต้องยอมรับว่า . . . ไม่ผิดหวังกับ new features ที่มากับ CS5 จริงๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเอาใจใส่ หรือเห็นใจ designer กับการเขียน Action script 3.0 หรือแม้แต่เรื่องของ VDO import, 3D features และ content aware fill ใน Photoshop, New brush ใน Illustrator และอื่นๆอีกมากมายที่คงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า . .
Mr.A ได้เข้ามามีบทบาท และผลกระทบต่อชีวิตของ computer user แทบจะทุกระดับ โดยเฉพาะคนที่ทำงานในแวดวงของการออกแบบ . . . จะถ่ายรูป, จะทำ web, จะทำ motion graphics, จะทำหนัง, จะทำสิ่งพิมพ์, จะพัฒนา software, จะออกแบบบ้าน, จะทำงาน 3 มิติ หรือแม้กระทั่งจะเป็นครู
เราคงมีชีวิตอยู่ได้ไม่คล่องตัวนัก หากขาด Mr.A ไปสักคน
หาก Mr.A คือนักเรียน
ก็เอา A ไปเลย . . .
ด้วยความที่อยากเห็น new features ของทุก Software ใน Creative Suite 5
และด้วยชีวิตประจำวันที่ไม่สามารถที่จะเพิกเฉย ต่อสิ่งเหล่านี้ได้
แม้ว่าในการใช้งานจริงๆแล้ว ผมเองก็ยังใช้ feature เดิมๆ ที่มีมาตั้งแต่ version เก่าๆได้ไม่หมด และได้ไม่คล่องตัว . . . แต่การปฎิเสธหรือเมินเฉยต่อ new technology ก็ดูจะเป็นแนวทางที่ไม่น่าจะถูกต้องนัก ส่งผลให้ข่าวของ CS5 อยู่ในกระแสความสนใจของผมมาเป็นเวลาหลายเดือน
ต้องยอมรับว่า . . . ไม่ผิดหวังกับ new features ที่มากับ CS5 จริงๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเอาใจใส่ หรือเห็นใจ designer กับการเขียน Action script 3.0 หรือแม้แต่เรื่องของ VDO import, 3D features และ content aware fill ใน Photoshop, New brush ใน Illustrator และอื่นๆอีกมากมายที่คงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า . .
Mr.A ได้เข้ามามีบทบาท และผลกระทบต่อชีวิตของ computer user แทบจะทุกระดับ โดยเฉพาะคนที่ทำงานในแวดวงของการออกแบบ . . . จะถ่ายรูป, จะทำ web, จะทำ motion graphics, จะทำหนัง, จะทำสิ่งพิมพ์, จะพัฒนา software, จะออกแบบบ้าน, จะทำงาน 3 มิติ หรือแม้กระทั่งจะเป็นครู
เราคงมีชีวิตอยู่ได้ไม่คล่องตัวนัก หากขาด Mr.A ไปสักคน
หาก Mr.A คือนักเรียน
ก็เอา A ไปเลย . . .
JJC Lens Cap for LX3
0
comments |
This entry was posted on April 12, 2010
สำหรับคนที่ใช้ Panasonic LX3 ทุกคน น่าจะมีความรู้สึกร่วมกันอย่างหนึ่งคือเรื่องของฝาปิดหน้า len ที่ต้องถอดเข้า-ออกทุกครั้งที่จะถ่ายรูป . . . นอกจากความรำคาญแล้ว การสูญหายของฝาปิดที่ต้องถอดออก มักเป็นปัญหาควบคู่ที่ตามกันมา
ในยุคแรกสมัย LX3 ออกใหม่ๆ มีคนใจกล้าเอาฝา Ricoh LC-1 มาฝืนใช้แทน
ผลคือต้องมีการฝืนเกลียวของกล้อง และ ฝา Auto ของ Ricoh นั้นจะบังขอบ Len เวลา Zoom สุดที่ระยะ 3x . . . ทำให้ต้องมีการหนุนฝากันอีกนิดหน่อย . . . สรุปคือต้อง modify กันเพิ่มเติมอีก แม้ไม่ได้ยากเย็น แต่ผมก็ไม่อยากฝืนทำ
แต่ในที่สุด...เจ้าพ่อแห่งการผลิตของ copy แห่งโลก ก็ผลิตเจ้า JJC for LX3 ขึ้นมาโดยเฉพาะ
ไม่ต้องฝืนเกลียว ไม่ต้องหนุนฝาที่เปิดออก ไม่ต้องดัดแปลงอะไรอีก แค่ถอดชิ้นส่วนของกล้องออก แล้วใส่ JJC เข้าไป . . . ก็ใช้งานได้ทันที
หลังจากทดลองสั่งมาใช้แล้วก็พบว่า นี่ล่ะคือสิ่งที่ LX3 user ทุกคนต้องการ . . .
ในยุคแรกสมัย LX3 ออกใหม่ๆ มีคนใจกล้าเอาฝา Ricoh LC-1 มาฝืนใช้แทน
ผลคือต้องมีการฝืนเกลียวของกล้อง และ ฝา Auto ของ Ricoh นั้นจะบังขอบ Len เวลา Zoom สุดที่ระยะ 3x . . . ทำให้ต้องมีการหนุนฝากันอีกนิดหน่อย . . . สรุปคือต้อง modify กันเพิ่มเติมอีก แม้ไม่ได้ยากเย็น แต่ผมก็ไม่อยากฝืนทำ
แต่ในที่สุด...เจ้าพ่อแห่งการผลิตของ copy แห่งโลก ก็ผลิตเจ้า JJC for LX3 ขึ้นมาโดยเฉพาะ
ไม่ต้องฝืนเกลียว ไม่ต้องหนุนฝาที่เปิดออก ไม่ต้องดัดแปลงอะไรอีก แค่ถอดชิ้นส่วนของกล้องออก แล้วใส่ JJC เข้าไป . . . ก็ใช้งานได้ทันที
หลังจากทดลองสั่งมาใช้แล้วก็พบว่า นี่ล่ะคือสิ่งที่ LX3 user ทุกคนต้องการ . . .