หลายคนมองว่าการสอบ Entrance เป็นเรื่องง่าย ไม่ต่างอะไรกับการสอบไล่วิชาต่างๆในห้องเรียน . . . หลายคนสอบแล้วสอบอีก เปลี่ยนคณะไปเรื่อยๆเพราะยังไม่เจอคณะที่ถูกใจ . . . หลายคนสอบแล้วสอบอีกก็ยังไม่สามารถเข้าคณะใดๆได้ . . .
หลายคน . . . จบชีวิตตัวเองลง เพราะ สอบไม่ผ่าน
ระบบการเรียนของไทย ในยุคที่ผมยังเป็นนักเรียนนั้น การเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยใช้วิธีสอบ Entrance รวม เพียงครั้งเดียว
1 ปี มีการสอบเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ไม่ว่าผู้สอบต้องการจะเข้าศึกษาต่อที่คณะอะไร ก็ต้องสอบร่วมกันทั้งหมด ในการสอบครั้งนี้ นั่นหมายความว่า หากสอบไม่ผ่าน ต้องรออีก 1 ปีเพื่อสอบใหม่
สอบ Entrance จึงเป็นเหมือนประตูสู่รั้วมหาวิทยาลัย ที่นักเรียนทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความกดดันและความเครียดจึงมีสูงสำหรับนักเรียนหลายๆคน เนื่องด้วยไม่อยากพลาดและผิดหวัง หรือต้องรออีก 1 ปีเพื่อสอบใหม่ เหมือนเรียน high school มา 6 ปี (ม1-ม6) เพื่อการสอบเพียงวันเดียว
แม้ว่า มหาวิทยาลัยเปิดอย่าง ม.รามคำแหง จะเปิดโอกาสให้เข้าเรียนได้โดยไม่ต้องสอบเข้า แต่ที่นั่นไม่มีคณะที่ผมอยากเรียน
การสอบ Entrance ในยุคนั้น เปิดโอกาสให้ผู้สอบ เลือกคณะที่จะเข้าสอบได้ 5 อันดับ คะแนนสอบรวมทุกวิชา จะถูกนำไปคัดเลือกกับผู้สอบทั่วประเทศ ผู้ที่มีคะแนนสูงที่สุดตามจำนวนที่คณะนั้นๆเปิดรับ จะเป็นผู้ที่ได้เข้าเรียนต่อ หากพลาดอันดับ 1 ก็มาวัดคะแนนกับคณะอันดับที่ 2, 3, 4, 5 ต่อไป
"สอบ Entrance เป็นเหมือนการวัดอนาคต ของเด็กนักเรียนไทย
สอบ Entrance เป็นการทดสอบความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา
สอบ Entrance เป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพการงานที่ดี
สอบ Entrance เป็นหน้าเป็นตา เป็นเกียรติ เป็นความภาคภูมิใจ
สอบ Entrance เป็นได้ทุกอย่างสำหรับเด็กนักเรียนมัธยม"
แม้ว่าในวันนี้ ผมพบว่า ข้อความดังกล่าวนั้น ไม่เป็นความจริงเสมอไป
แต่สำหรับเด็กในวัยเตรียมสอบ Entrance แล้วนั้น . . . จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจ และไม่มีความกดดัน?
ผมคว้า วัฎจักร ฉบับพิเศษขึ้นจากแผงหนังสือที่ตลาดอ่อนนุช
ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็พบชื่อของผมในรายชื่อหน้าแรก
แม้ว่า รอยยิ้ม ความภูมิใจ โล่งอก เติมเต็มหัวใจผมมาล่วงหน้าแล้ว
จากจดหมายประกาศผลสอบที่ส่งตรงถึงบ้าน แต่การเห็นรายชื่อของตัวเองในหนังสือพิมพ์ของเช้าวันรุ่งขึ้นก็เป็นการยืนยันว่า "ผมสอบผ่าน" แล้วจริงๆ
หลายคนมองว่าการสอบ Entrance เป็นเรื่องง่าย ไม่ต่างอะไรกับการสอบไล่วิชาต่างๆในห้องเรียน
แต่หลายคนรวมทั้งผม ดีใจ และภูมิใจมาก ที่ผ่านการสอบ
Entrance ได้ . . .
เวลาช่างผ่านไปไวเหมือนโกหกจริงๆ . . .
9 Response to "Entrance 35'"
เป็นหนึ่งคนที่ไม่ผ่านครับ
แต่ทุกวันนี้ก็แฮปปี้ดี (รึเปล่านะ?)
หาชื่อกูให้หน่อยดิ อิอิ
เวลาผ่านไปเร็วชมัด เผลอแป๊บเดียวด็เห็นหน้ากันมา 15 ปีแล้วเนอะ
โห ยังเก็บไว้อีก
หวัดดีครับ Art
Entrance มันก็ไม่ได้เป็นจุดวัดความสำเร็จหรือความสุข (happy) ของชีวิตจริงๆนั่นแหละครับ
- - - -
หาไม่เจอว่ะโก้ ตาลาย . . . มีหลายหน้ามาก ตาลายมาก
- - - -
15 ปี แล้วจริงๆ Kat !!!
โอ้ววววว
- - - -
เก็บไว้ครับ ตั้งใจเก็บไว้เลยครับ
อีก 15 ปี ถ้ามันยังไม่สลายไป อาจได้มา post ใหม่
ไม่รู้ว่า นสพ หรือ blogspot อันไหนจะหายไปก่อนกัน?
โห เก็็บไว้ได้ไงเนี่ย :)
พี่วุด
นิ้งเป็นคนนึงที่รู้ความต้องการของตัวเองตั้งแต่ ม.ปลาย แล้วก็ไม่คิดที่จะเอนท์ช่วงปลาย ม.6 พอถึงช่วงที่เพื่อน ๆ เตรียมเอนทรานซ์กันแล้ว นิ้งก็บอกที่บ้านว่า ไม่เอนท์นะ เพราะรู้แล้วว่าจะเรียนที่ไหน คณะอะไร แล้วก็ไปสอบที่นั่นเลย เข้าคณะที่วางไว้ว่าจะเรียน
ขณะเรียน ก็รู้สึก happy ดี ที่ได้ทำงานตามอย่างใจ ได้เก็บความรู้ทุกมุมอย่างที่เราอยากจะรู้ ถึงแม้จะมีคำสบประมาท หรือแรงกดดันจากญาติ ๆ บ้าง เพราะญาติ ๆ จะเป็นพวกเอนท์ติดกันทั้งนั้น แต่เราตั้งใจไว้แล้วว่าไม่เอนท์ ก็เลยไม่สนใจอะไร
พอจบมาทุกวันนี้ ก็ยังคง happy เหมือนเดิม และรู้สึกว่า เวลาในอนาคตที่เราตั้งเป้า และมองเอาไว้ตั้งแต่ ม.6 ที่เราเลือกแบบนี้ ยังไม่เคยมีวินาทีไหนเลย ที่เสียดายการตัดสินใจของตัวเอง :)
เยี่ยมเลยนิ้ง
จะมีสักกี่คนที่สามารถทำได้อย่างนิ้ง . . .
ไม่มีความกดดัน หรือ เครียด และมีเป้าหมายแน่นอนตั้งแต่เด็ก
จะว่าไป พี่ก็มีเป้าหมายนะ ว่าอยากเรียน สถาปัตยกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ ม.1 แล้ว
คิดเหมือนกันว่า ถ้า Ent ไม่ติด ก็จะเรียนคณะนี้เท่านั้น
แต่พี่โครตเครียดเลยน่ะ . . . ตอน Ent น่ะนะ
สมัยผม Ent ผมอยากเข้ามหาวิทยาลัยที่สอนดนตรีศึกษาโดยตรง
ซึ่งปี 2538 นั้นยังไม่มีมหาลัยเอกชนเปิดคณะดนตรีเลย
จะมีก็แต่ ม.รัฐบาล ตอนนั้นมี จุฬา เกษตร และประสานมิตรเท่านั้น
ปีที่ผมสอบมีให้เลือกคณะเพียง 3 อันดับ ผมเลยเลือกจุฬาเป็นอันดับหนึ่ง
ผมก็รู้ตัวว่าชอบและอยากเรียนอะไรตั้งแต่ผมอยู่ ม.5 แต่ค่อนข้างหนักใจ
เพราะรู้ว่าตัวเองเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ก็พยายามมากที่จะไปเรียนพิเศษ
ในช่วงม.6 เรียกว่าเกิดมาไม่เคยตั้งใจเรียนเท่า ม.6 ฮ่าๆๆๆ
โชคดีที่ได้เข้าคณะและสาขาที่เลือกไว้ และปัจจุบันก็ยังได้ทำงานที่ตัวเองตั้งใจ
ผมคิดว่าจะเก็บเอาความรู้สึกนี้ สอนไปยังลูกหลานด้วย
ว่าจงเลือกทำในสิ่งที่รัก เพราะไม่ว่ายังไง มันต้องออกมาดีแน่ๆ :)
Post a Comment